รวบรวมข่าวสาร Update ข้อมูลของ Social Network Marketing & Search Engine Marketing รวมถึงเทคนิคต่างๆ ในการทำ Marketing ผ่านสื่อ Digital ทั้ง Search Engine และ Social Network ไม่ว่าจะเป็น facebook, Adwords, Twitter ฯลฯ
Sunday, May 30, 2010
Oriental Princess ติดใจออนไลน์
สำหรับโอเรียนทอล พริ้นเซส นับเป็นแบรนด์เครื่องสำอางประเภท Specialty Store ที่มีการทำการตลาดแบบครบเครื่อง โดยเฉพาะการใช้สื่อในรูปแบบผสานกันระหว่างภาพยนตร์โฆษณาและเว็บไซต์ โดยหลังจากความสำเร็จของคอลเลกชั่นพิเศษอย่าง Avatar ที่ใช้สื่อออนไลน์อย่างจริงจัง เมื่อคลอดคอลเลกชั่นพิเศษ “มายา” จึงเลือกเดินตามรอยความสำเร็จดังกล่าวอย่างไม่ผิดเพี้ยน
“เนื่องจากใช้สื่อออนไลน์แล้วได้ผลทั้งในแง่ของ Viral ยอดขาย และผลรางวัลที่ได้ทั้งจาก Adman ประเภท Campiagn for Viral Advertising และ B.A.D. Award ประเภท Website Designแสดงให้เห็นว่าเราใช้สื่อได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่” พาสนา อินทราทิพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โอ.พี.เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด บอก
ครั้งนี้ Limited Edition ของกลุ่มสีสันใช้ชื่อว่า “มายา” ซึ่งอัดงบการตลาดกว่า 50 ล้านบาท เพื่อผลักดันยอดขายในกลุ่มสีสันและน้ำหอม โดยยังคงใช้สื่อหลักเป็นภาพยนตร์โฆษณาอยู่ ซึ่งคงสไตล์หนังที่สวยงามและเทคนิคการถ่ายทำพิเศษเช่นเคย
นอกจากนี้แล้วยังมีสื่อออนไลน์ผ่านเว็บไซต์อย่าง www.orientalprincess.com/mayaacademia ผลงานของ JWT เช่นเคยที่นำเสนอในรูปแบบของ มายา อะคาเดเมีย โรงเรียนสอนศาสตร์เสน่ห์แห่งการใช้สีและกลิ่น หรือพูดง่ายๆ ก็คือ คลิปสอนวิธีการเลือกสีที่ใช้ในการแต่งหน้า รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อให้ตัวเองดูดี โดยมีนักแต่งหน้ามืออาชีพ และกูรูด้านไลฟ์สไตล์มาให้คำแนะนำและสอนเทคนิคต่างๆ
ทั้งนี้จะวางจำหน่ายมายาในระยะเวลา 6 เดือน ในราคาตั้งแต่ 135-565 บาท แต่พาสนาบอกว่า ยอดขายจะพีคในช่วง 3 เดือนแรก และคาดว่ายอดขายในกลุ่มสีสันจะเติบโตขึ้น 8% และทำยอดขายได้ 100 ล้านบาท มากกว่า Avatar ที่ปิดยอดขาย 80 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นยอดขายในระดับสูงเมื่อเทียบกับการเปิดตัว Limited Edition ในกลุ่มสีสันก่อนหน้านี้ที่ทำยอดขายเฉลี่ย 30 ล้านบาท เนื่องจากไม่ได้ใช้สื่อออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบในการเข้าถึงผู้บริโภค
ผลงานของมายาจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เป้าหมายในการผลักดันยอดขายในปี 2553 ถึงเป้าที่ 3,250 ล้านบาท มากกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งปิดที่ 3,012 ล้านบาท แม้โดยธีมแล้วมายาจะไม่แรงเท่ากับ Avatar ที่หยิบยกเอาเรื่องธาตุมาเป็นคอนเซ็ปต์ก็ตาม
Key to Success
1.CRM ผ่านกิจกรรมโรดโชว์ เวิร์คช็อป เพื่อขับเคลื่อนยอดขายด้วยสมาชิกเป็นหลัก โดยมียอดขายจากสมาชิกเติบโต 29% และจะมีสมาชิกครบ 1 ล้านคนในปีนี้ โดยปัจจุบันมี 765,000 บาท
2.เพิ่มช่องทางจำหน่าย ด้วยการขยายสู่ต่างจังหวัดมากขึ้น โดยปัจจุบันมี 279สาขา เตรียมขยายอีก 20 สาขา โดย 15 สาขาเป็นต่างจังหวัด และ 5 สาขาเปิดในกรุงเทพฯ ซึ่งลงทุนเฉลี่ย 2.5 ล้านบาทต่อสาขา โดยปัจจุบันมียอดขายจากต่างจังหวัด 45%
3.สื่อสารการตลาดครบวงจร โดยเฉพาะสื่อออนไลน์
4.Price Positioning แบบ Affordableเพื่อสอดรับกับกำลังซื้อของกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาและคนวัยทำงาน เริ่มต้น โดยมีราคาต่ำกว่าร้านเครื่องสำอางแบบ Specialty Store อื่นๆ อย่าง เดอะ บอดี้ ช็อป
สัดส่วนรายได้ของโอเรียนทอล พริ้นเซส ปี 2552 (by category)
ผิวพรรณ (Facial) 34%
สีสัน (Colors) 34%
ร่างกายและเส้นผม (Body&Hair) 22%
ไลฟ์สไตล์ (Perfume) 10%
Credit by web Positioning
Friday, May 28, 2010
News Google (Ad Extension)
รูปแบบเก่าก็คือ มันสามารถใส่ แผนที่ สินค้า หรือแม้กระทั้ง video อธิบายอย่างนี้
อาจจะไม่ค่อยเห็นภาพกันนะครับลองดูจาก Vedio ด้านล่าง
Friday, May 21, 2010
พนักงานบริษัทไหนใช้ social media มากสุด
นอกจากนี้ยังมีการลำดับคะแนน ของการใช้ Twitter โดยเปรียบเทียบจากจำนวนข้อความ Tweets และจำนวน Followers เปรียบเทียบจากพนักงานของแต่ละบริษัท ว่าพนักงานบริษัทใดใช้ Twitter มากที่สุด และสุดท้ายคือเว็บไซต์ Social Network ใดที่พนักงานเป็นสมาชิกมากที่สุด
ในนี้เราจะเห็น Trend ของคนอเมริกาว่าเค้าแทบจะไม่นิยมใช้ tweeter แล้ว
Sunday, May 16, 2010
การติดตามข่าวสารยุคปัจจุบัน
พอดีไปเจอบทความที่น่าสนใจเลยลองมา share ใ้ห้เพื่อนๆดูนะครับ
คงไม่มีใครเถียงแล้วว่า Internet ได้กลายเป็นสื่อแรกที่คนนึกถึงเวลาต้องการเสพข่าวในแบบที่ว่องไว และหลากหลาย การอ่านข่าวบน Internet เป็นที่นิยมมากขึ้นทุกวัน ทั้งสำหรับต่างประเทศและคนไทย และเป็นสิ่งที่ทำให้คนใช้ Internet มากขึ้นด้วยเช่นกัน
Infographic ตามภาพ เป็นการแสดงพฤติกรรมของคนอเมริกันว่าใช้สื่อในการติดตามข่าวสารอย่างไร โดยให้ชื่อภาพนี้ว่า ”Who is the Modern Media Consumer?” จัดทำขึ้นโดย Flowtown
เริ่มต้นจากจำนวน 92% ของคนอเมริกันติดตามข่าวสารจากหลายช่องทาง หรือทุกสื่อที่มี เช่น ทีวี วิทยุ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และหนังสือพิมพ์ ซึ่งเมื่อก่อนจะมีเพียง 3 สื่อหลักเท่านั้น คือ ทีวี วิทยุ และหนังสือพิพม์ แต่เมื่อพลังของข่าวสารบน Internet มีมากขึ้น และเป็นที่ยอมรับมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจกับตัวเลขที่มากขนาดนี้ นอกจากนี้ ในภาพยังเปรียบเทียบ % การใช้สื่อต่างๆ และยังลงลึกถึงการใช้งานผ่านทาง Internet ว่าข่าวประเภทใหนที่พวกเขาติดตาม รวมถึงกิจกรรมที่ทำต่อข่าวที่พบเจอ
ถึงแม้ภาพนี้จะแสดงพฤติกรรมของคนอเมริกัน ซึ่งไม่ใช่คนไทย ก็ไม่ได้หมายความว่าข้อมูลนี้นำมาใช้งานไม่ได้ เพราะอย่าลืมว่า หลายสิ่งอย่างได้เป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศก่อน และตามมาด้วยพฤติกรรมของคนไทยที่สอดคล้องกัน เพียงแต่จะเกิดขึ้นช้ากว่า
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจจะไปใช้ในทางการตลาดได้web credit www.marketingoops.com